V-RAY Lighting & Rendering
เวลาเรียน: 30ชั่วโมง (5 ครั้ง, 6ชั่วโมง/ครั้ง)
ค่าคอร์ส: 8,900บาท / ที่นั่ง
หลักสูตร: 30 ชั่วโมง เรียนทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมง?หรือ 10 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ ในการจัดแสงเรนเดอร์ให้สมจริง (Realistic) เป็นหลัก โดยทำงานอยู่บนโปรแกรมมายา (Maya) และ วีเรย์เรนเดอร์ (V-Ray) ซึ่งเป็นตัวเรนเดอร์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน
เนื่องจากมีความถูกต้องของแสง (Lighting), คุณสมบัติของวัสดุ (Shader) และยังอยู่บนพื้นฐานด้านฟิสิกส์มากที่สุด (High Quality Physical Accurate) ในปัจจุบันซึ่งครอบคลุมการใช้งานสำหรับงานโปรดักชั่น (Production) ต่างๆ ในปัจจุบัน
พื้นฐานผู้เรียนที่แนะนำก่อนเรียน
- มีพื้นฐานโปรแกรม MAYA ระดับพื้นฐาน (เข้าใจเครื่องมือพื้นฐานต่างๆ ก่อนเรียน)
===========
รายละเอียดคอร์ส
===========
ครั้งที่1: Basic of V-Ray for Maya & The Science Of CGI (6 ชั่วโมง เบรคพักเที่ยง 30 นาที)
พื้นฐานการใช้งานวีเรย์สำหรับมายา และ เทคนิคที่สำคัญสำหรับการสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ให้สมจริง
———————————————————————-
- อินเตอร์เฟสและการทำงานพื้นฐานทั้งหมดของวีเรย์บนมายา
- ทำความเข้าใจ, สังเกต, วิเคราะห์ เทคนิคของแสง, คุณสมบัติของวัตถุจริง และ การนำไปใช้กับวัตถุที่ถูกสร้างจากคอมพิวเตอร์ อาทิ เช่น
แสงตรง (Direct Light), แสงกระทบชิ่ง (Indirect Light), Color Bleeding, ลักษณะของเงาแบบต่างๆ, การสะท้อน (Reflec), ไฮไลท์ของแสง (Specular), การหักเห (Refrac), การกระจายตัวของแสง (Light Scattering), ชัดตื้นชัดลึก (DOF), โมชั่นเบลอ (Motion Blur), ขอบคมขอบมนของวัตถุ (Round Corner) และ ลักษณะการสะท้อนของผิวเคลือบ (Fresnel Reflection) เป็นต้น
- ทำความเข้าใจกับการจัดแสงให้สมจริงในแบบที่ตามนุษย์มองเห็นด้วยเทคนิค Linear workflow (LWF) และ sRGB
- ทำความเข้าใจกับรูปแบบไฟล์ภาพ exr และการนำไปใช้งานแบบ sRGB ให้ถูกต้องกับ Effect Filter หรือ Mode ต่างๆ ใน After Effect
- ทำความเข้าใจเรื่องแสงเงา และ การแรเงา (Charcoal) กับรูปแบบแสงชนิคต่างๆ เช่น RectLight หรือ Area Light, SphereLight หรือ Point Light, DomeLight, IESLight, และ Physical Sun & Sky.
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแสงแบบต่างๆ จากโมเดลสามมิติที่ต้องการ
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุ (Shader) ในวีเรย์ ด้วย VRayMtl ซึ่งเป็น Shader พื้นฐานในการทำงานต่างๆ, VRayBlendMtl, VRayMtl2Sided, VRayCarPaint, และ VRaySSS2
ครั้งที่2: Basic of Packshot, Studio Lighting & Still Life Image (6 ชั่วโมง เบรคพักเที่ยง 30 นาที)
พื้นฐานการจัดแสงเรนเดอร์แพคเกจ, แสงสตูดิโอ, และงานแบบ Still Life
——————————————————————————-
- ทำความเข้าใจแสงเงาของ Studio เช่น SoftBox, Decay Shadow
- ทำความเข้าใจการสร้างบรรยากาศให้กับงาน
- การจัดแสงและคุณสมบัติของวัสดุแบบ Packshot
- การจัดแสงและคุณสมบัติของวัสดุแบบ Still Life
ครั้งที่3: Basic of Image Based Lighting & HDRI Workflow (6 ชั่วโมง เบรคพักเที่ยง 30 นาที)
พื้นฐานการจัดแสงเรนเดอร์ด้วยภาพบรรยากาศแบบ HDRI (High Dynamic Range Image) และขั้นตอนการถ่าย
——————————————————-
- ทำความเข้าใจภาพแบบ LDR (Low Dynamic Range) และ HDR (High Dynamic Range) กับงาน CGI
- ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Liner workflow (LWF) ซึ่งมีความสำคัญกับ HDRI
- เรียนรู้ขั้นตอนการถ่ายลูกบอลโครมเมียม (Mirror Ball) เพื่อใช้ในการทำภาพ HDRI
- เรียนรู้ขั้นตอนการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ (CGI) ลงบนภาพถ่ายให้สมจริงที่สุดด้วย HDRI
- การแยก Passes ที่เป็น CGI เพื่อนำไปรวมกับภาพถ่ายในขั้นตอน Composite
- การเรนเดอร์ยานพาหนะ หรือรถยนต์ ด้วย HDRI (High Dynamic Range Image)
ครั้งที่4: Basic of Interior & Exterior Lighting (6 ชั่วโมง เบรคพักเที่ยง 30 นาที)
พื้นฐานการจัดแสงภายในและภายนอก
——————————————————————–
- เรียนรู้การจัดแสงภายในและภายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น Sun Sky, HDRI, และไฟชนิดต่างๆ
ครั้งที่5: Basic of Compositing Workflow & Review (6 ชั่วโมง เบรคพักเที่ยง 30 นาที)
พื้นฐานการรวมพาสของภาพและการปรับแต่งในคอมโพสิต + รีวิวงานจบของผู้เรียน
—————————————————————————————————–
- ทำความเข้าใจการรวมพาสแบบ Simple และ แบบ Raw สำหรับการคอมโพสิต
- ทำความเข้าใจการสร้าง ชัดตื้นชัดลึกและโบเก้ (Bokeh) ของ CGI ในคอมโพสิต จากพาส Z-Depth
- ทำความเข้าใจการสร้างโมชั่นเบลอ (Motion Blur) ของ CGI ในคอมโพสิตจากพาส Velocity (Vector)
- รีวิวงานจบของผู้เรียน